ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 (อังกฤษ: Shoemaker-Levy 9 หรือ SL9; ชื่ออย่างเป็นทางการ D/1993 F2) เป็นดาวหางที่พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้สามารถสังเกตการชนระหว่างวัตถุในระบบสุริยะได้โดยตรงเป็นครั้งแรก (ไม่นับการชนที่เกี่ยวกับโลก) เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการเผยแพร่ออกไปทางสื่อต่าง ๆ และนักดาราศาสตร์ทั่วโลกก็มีโอกาสติดตามสังเกตการชนครั้งนี้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงสภาพบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี รวมไปถึงบทบาทของดาวพฤหัสบดีที่คอยกวาดวัตถุในอวกาศที่อยู่ด้านในของระบบสุริยะ

แคโรลิน ชูเมกเกอร์ ยูจีน ชูเมกเกอร์ และเดวิด เลวี เป็นนักดาราศาสตร์ที่ค้นพบดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 เมื่อคืนวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2536 โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเมาต์พาโลมาร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นดาวหางดวงแรกที่พบขณะโคจรรอบดาวเคราะห์ ไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์

ชิ้นส่วนของดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ประกอบด้วยดาวหางจำนวน 21 ชิ้น เคลื่อนที่ไล่ตามกันเหมือนขบวนรถไฟ มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 กิโลเมตร ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีได้ฉีกดาวหางแตกออกเป็นชิ้น ๆ ระหว่างการโคจรเข้าใกล้กันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 จากนั้นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของดาวหางได้พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีตรงด้านซีกใต้โดยเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ถึง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ด้วยอัตราเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/วินาที เกิดการระเบิดเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 6 ล้านตัน หรือเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมา 100 ล้านลูก แรงระเบิดมีรัศมีกระจายไปถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้เกิดฝุ่นดาวหางปกคลุมสูงขึ้นมาเหนือเมฆในชั้นบรรยากาศโจเวียนถึง 3,000 กว่ากิโลเมตร เกิดรอยคล้ำบนชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี เห็นได้ชัดเจนต่อเนื่องกันนานเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น

แคโรลิน ชูเมกเกอร์ ยูจีน ชูเมกเกอร์ และเดวิด เลวี ค้นพบดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 โดยบังเอิญเมื่อคืนวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2536 ในภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเมาต์พาโลมาร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะปฏิบัติการในโครงการค้นหาวัตถุใกล้โลก ขณะนั้นดาวหางดวงนี้ไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์แบบดาวหางทั้งหมดที่เคยมีการค้นพบมาก่อนหน้านั้น แต่มันกำลังโคจรรอบดาวพฤหัสบดี

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 เป็นดาวหางรายคาบ (คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์น้อยกว่า 200 ปี) ดวงที่ 9 ที่ชูเมกเกอร์กับเลวีเป็นผู้ค้นพบ (สังเกตได้จากชื่อของดาวหาง) อย่างไรก็ตาม ทั้งสามคนยังได้ค้นพบดาวหางร่วมกันอีก 2 ดวงที่ไม่ใช่ดาวหางรายคาบ การค้นพบนี้ได้รับการประกาศในจดหมายข่าวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU Circular) ฉบับที่ 5725 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2536 ต่อมามีนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งได้ตรวจสอบภาพถ่ายของตนเอง และพบดาวหางดวงนี้ปรากฏในในภาพถ่ายที่ถ่ายไว้ก่อนหน้านั้น

จากภาพถ่ายแสดงให้เห็นว่าชูเมกเกอร์-เลวี 9 ไม่ใช่ดาวหางปกติธรรมดา มีนิวเคลียสหลายชิ้นทอดยาวเป็นทางประมาณ 50 พิลิปดา กว้าง 10 พิลิปดา ไบรอัน มาร์สเดน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกลางด้านข่าวโทรเลขดาราศาสตร์ (Central Bureau for Astronomical Telegrams) แสดงความเห็นว่าดาวหางดวงนี้อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีเพียง 4 องศา เมื่อมองจากโลก ซึ่งแม้ว่าอาจเป็นการบังเอิญที่ดาวหางมาอยู่ในแนวสายตาใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี แต่การเคลื่อนที่ของดาวหางซึ่งไปในแนวทางเดียวกับดาวพฤหัสบดีทำให้เชื่อว่ามันน่าจะอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี จากข้อสังเกตนี้ มาร์สเดนคาดว่าดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 น่าจะแตกออกเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดี

การศึกษาวงโคจรของดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ในเวลาต่อมา เผยให้เห็นอย่างชัดเจนว่าดาวหางดวงนี้กำลังโคจรรอบดาวพฤหัสบดีด้วยคาบประมาณ 2 ปี จุดที่ห่างจากดาวพฤหัสบดีมากที่สุดอยู่ห่างเป็นระยะทาง 0.33 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) (ประมาณ 49.4 ล้านกิโลเมตร) และค่าความเยื้องศูนย์กลาง (eccentricity) ของวงโคจรมีค่าสูงมาก (ประมาณ 0.9986)

จากการศึกษาตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของดาวหางในขณะนั้น สามารถย้อนกลับไปในอดีต พบว่าดาวหางน่าจะโคจรรอบดาวพฤหัสบดีมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว โดยถูกจับไว้ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 หรือกลางทศวรรษ 1960 แต่ไม่มีการค้นพบภาพถ่ายในคลังภาพที่ถ่ายไว้ก่อนเดือนมีนาคม 2536 ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 อาจเคยเป็นดาวหางคาบสั้นมาก่อน วงโคจรของดาวหางมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ขณะที่จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ภายในวงโคจรของดาวพฤหัสบดี

พื้นที่ในอวกาศที่วัตถุหนึ่งจะถือได้ว่าโคจรรอบดาวพฤหัสบดีนิยามโดยทรงกลมฮิลล์ (Hill sphere) (หรือทรงกลมรอช - Roche sphere) เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดี มันเข้าไปอยู่ในทรงกลมฮิลล์ แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีดึงดูดดาวหางเข้าไปหามัน การเคลื่อนที่ของดาวหางที่ค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดีทำให้ดาวหางเกือบจะตรงเข้าหาดาวพฤหัสบดีในทันที และเป็นสาเหตุทำให้ดาวหางมีวงโคจรที่มีความรีสูงมาก

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 โคจรเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีมากที่สุดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ด้วยระยะห่างเพียง 40,000 กิโลเมตร เหนือบรรยากาศดาวพฤหัสบดี ใกล้กว่าวงโคจรของเมทิส ดวงจันทร์บริวารดวงที่อยู่ใกล้ดาวพฤหสบดีมากที่สุด และอยู่ภายใต้ขีดจำกัดของรอช ซึ่งแรงไทดัลมีความรุนแรงมากพอจะฉีกมันออกเป็นเสี่ยง ๆ ชิ้นส่วนของดาวหางได้รับการตั้งชื่อเรียงตามตัวอักษร จาก A ถึง W ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมการตั้งชื่อชิ้นส่วนดาวหางดวงเดียวกันที่แตกออกเป็นหลายชิ้น

เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักดาราศาสตร์ก็คือผลการพยากรณ์ตำแหน่งดาวหางที่พบว่าดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 อาจเข้าไปภายในระยะ 45,000 กิโลเมตรจากศูนย์กลางดาวพฤหัสบดีซึ่งใกล้กว่ารัศมีของดาว หมายความว่ามีโอกาสสูงมากที่ดาวหางจะพุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 โดยชนเกิดขึ้นทีละชิ้น นับตั้งแต่ชิ้นแรกถึงชิ้นสุดท้ายรวมเป็นเวลานานประมาณ 5 วัน

การค้นพบว่าดาวหางมีโอกาสชนดาวพฤหัสบดีทำให้นักดาราศาสตร์ทั้งหลายรวมไปถึงประชาชนที่สนใจต่างตื่นเต้นเป็นการใหญ่ เนื่องจากไม่เคยมีการสังเกตการชนกันระหว่างวัตถุที่สำคัญในระบบสุริยะมาก่อน ผลการพยากรณ์ตำแหน่งดาวหางเป็นที่แน่ชัดว่ามันจะพุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดี การชนครั้งนี้นักดาราศาสตร์คาดว่าจะเป็นโอกาสสำคัญในการศึกษาบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี เพราะจะเปิดเผยสภาพบรรยากาศด้านในของดาวพฤหัสบดีออกมาให้เห็น

นักดาราศาสตร์คะเนว่าชิ้นส่วนดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ที่สังเกตได้จากโลก มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่เมตรจนถึงไม่กี่กิโลเมตร ซึ่งแสดงว่าก่อนที่จะแตกออกมันมีขนาดใหญ่ได้ถึงราว 5 กิโลเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่พอสมควรเมื่อเทียบกับดาวหางเฮียะกุตะเกะที่เห็นได้เหนือท้องฟ้าเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลของการชน และการชนจะทำให้เกิดแสงสว่างวาบมองเห็นได้จากโลกหรือไม่ นักดาราศาสตร์บางกลุ่มคาดว่าการชนอาจทำให้เกิดคลื่นสั่นไหวไปทั่วดาวพฤหัสบดี รวมไปถึงวงแหวนดาวพฤหัสบดีที่อาจมีมวลเพิ่มมากขึ้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180